เตือน!! โรงเรียนที่ใช้เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อ-อุโมงค์ฆ่าเชื้อ อาจจะผิดกฎหมาย และเป็นอันตรายต่อนักเรียนได้ -อย.ชี้แจงยังไม่มีผลิตภัณฑ์ใดได้รับการขึ้นทะเบียน

เตือน!! โรงเรียนที่ใช้เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อ-อุโมงค์ฆ่าเชื้อ อาจจะผิดกฎหมาย และเป็นอันตรายต่อนักเรียนได้ –อย.ชี้แจงยังไม่มีผลิตภัณฑ์ใดได้รับการขึ้นทะเบียน

วันที่ 17 มิถุนายน 2563 ที่เฟชบุ้ค Tuang Untachai ได้เผยแพร่หนังสือ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่ใช้เพื่อฉีดพ่นในตู้หรืออุโมงค์ เรียน ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้จําหน่ายตู้หรืออุโมงค์พ่นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ มีรายละเอียดดังนี้

ตามที่มีสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 แพร่กระจายเป็นวงกว้างทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ในระดับเป็นที่น่าพอใจ จึงมีมาตรการ ผ่อนคลายให้สามารถเปิดบริการกิจการต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างการปฏิบัติตาม แนวทางใหม่ให้เป็นการดําเนินชีวิตตามปกติ (New Normal) เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิ การสวมใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง การให้บริการแอลกอฮอล์เจลตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้พบว่าการเปิดให้บริการของ ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มีการติดตั้งตู้หรืออุโมงค์ฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคบน ร่างกายบุคคล โดยเข้าใจว่าเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้มารับบริการ นั้น

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขอเรียนว่า

๑. การฉีดพ่นทําลายเชื้อโรคบนร่างกายของบุคคล ไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ และ การฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ ๒

๒. ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคฉีดพ่นบนร่างกายบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่จากการตรวจสอบพบว่ามีการนําวัตถุอันตรายที่ขึ้นทะเบียนไว้สําหรับฆ่าเชื้อโรค บนพื้น ฝาผนัง หรือผิววัสดุ หรือมีการนําเครื่องสําอางที่ใช้เพื่อความสะอาดและความสวยงามสําหรับใช้ในชีวิตประจําวันมาใช้ ในตู้หรืออุโมงค์เพื่อฉีดพ่นบนร่างกายบุคคลเพื่อฆ่าเชื้อโรค ซึ่งเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ และไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนร่างกาย รวมถึงความปลอดภัยจากการรับสัมผัส หากเป็นวัตถุอันตรายอาจเกิดอันตราย จากการสัมผัสผิวหนัง เข้าตา หรือหายใจเข้าไป หากเป็นเครื่องสําอางอาจเกิดอันตรายจากการเข้าตา หรือหายใจเข้าไป

๓. การใช้ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อฆ่าเชื้อบนร่างกายบุคคล นอกจากอาจก่อให้เกิดอันตรายแล้วยังอาจ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้ใช้บริการว่าปลอดภัยต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทําให้ขาดความระมัดระวังในการปฏิบัติ ตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ดังนั้น ผู้ใดผลิต นําเข้า จําหน่าย จัดทําฉลากหรือโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ฉีดพ่นบน ร่างกายบุคคลในตู้หรืออุโมงค์ ถือเป็นการกระทําความผิดฝ่าฝืนกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะ กรรมการอาหารและยา หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทําฝ่าฝืนกฎหมายจะดําเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

อย.เตือน!! ปัจจุบันนี้ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคฉีดพ่นบนร่างกายบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียน อาจจะผิดกฎหมาย และเป็นอันตรายต่อนักเรียนได้
อย.เตือน!! ปัจจุบันนี้ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคฉีดพ่นบนร่างกายบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียน อาจจะผิดกฎหมาย และเป็นอันตรายต่อนักเรียนได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่