แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR: Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2564

แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR: Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2564 แนวทางการเขียน SAR 2564 ควรเป็นอย่างไร ให้สะท้อนภาพการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมรับการประเมินภายนอก

ครูอาชีพดอมคอม นำเสนอ แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR: Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2564 แนวทางการเขียน SAR 2564 ซึ่ง ในช่วงปลายปีการศึกษา 2564 ภารกิจหลักของสถานศึกษา เกี่ยวกับการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 คือ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR )

ซึ่งสถานศึกษาต้องดำเนินการหลังจากจัดการศึกษาผ่านไปแต่ละปีการศึกษา เพื่อสะท้อนภาพความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา ภายใต้บริบทของสถานศึกษาโดยสารสนเทศในรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษานั้นเป็นผลของการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา

ครูและบุคลากรทุกคน ในสถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการประเมินและให้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของตนเอง ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ในปีการศึกษา 2564 นี้ สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รุนแรงกว่าปีที่แล้วมาก ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา เป็นอย่างมาก เรียกว่าแทบจะจัดการเรียนการสอนรูปแบบ online กันเกือบทั้งปีการศึกษา ก็ว่าได้ ทำให้ต้องปิดสถานศึกษาด้วยเหตุพิเศษ ในหลายพื้นที่ แทบจะทั่วประเทศไทย แถมบางสถานศึกษา เป็นสถานที่พักคอย และโรงพยาบาลสนาม อีกต่างหาก เปิดรูปแบบ Onsite กันสักแป๊ป ก็ต้องปิดไปอีก เนื่องจากเกิด Cluster ทั้งครู และนักเรียน บางที่เปิดได้แต่ผู้ปกครองไม่มั่นใจ ไม่ให้ลูกหลานมาโรงเรียนอีก ต้องจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบพิเศษ blended คือ ทั้ง Online และ Onsite และใช้เทคโนโลยีการจัดการศึกษาทางไกล ใน 5 รูปแบบ On Air, Online, On site , On demand, และ On hand

นอกจากนี้ การประเมินคุณภาพภายนอก โดย สมศ. ได้กำหนดแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบ่งการประเมินเป็น 2 ระยะ

แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR: Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2564 แนวทางการเขียน SAR 2564
แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR: Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2564 แนวทางการเขียน SAR 2564

การประเมินระยะแรก

เป็นการประเมินผลจากการวิเคราะห์รายงานการระเมินตนเอง SAR ของสถานศึกษา ซึ่งส่งผ่านต้นสังกัด การประเมินจะพิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏใน SAR และเอกสารประกอบที่แนบมากับ SAR เท่านั้น (ไม่ขอเอกสารเพิ่มเติมจากสถานศึกษาเพื่อลดภาระของสถานศึกษา) การสรุปผลการประเมิน SAR ออกเป็น 3 ระดับตามรายมาตรฐาน คือ ดี พอใช้ และปรับปรุง

การประเมินระยะที่สอง

เป็นการประเมินจากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม (Site visit) โดยมีกำหนดเวลาน้อยสุด ไม่มีการประชุมสรุปผลการประเมินด้วยวาจาที่สถานศึกษา เพื่อลดการสัมผัสและยึดหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยผลการประเมินจากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม (Site visit) มี 5 ระดับแยกตามรายมาตรฐาน คือ ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้ และปรับปรุง

แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR: Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2564 แนวทางการเขียน SAR 2564

เมื่อการประกันคุณภาพภายนอก เป็นใช้ผลจากการวิเคราะห์จากรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสถานศึกษา ดังนั้นรายงาน SAR ของปีการศึกษา 2564 นอกจากแนวทางการจัดทำรายงานผลการประเมินการประเมินตนเอง ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย สำนักทดสอบทางการศึกษา ได้กำหนดไว้ สถานศึกษาควรต้องศึกษาเกณฑ์การประเมินรายงาน SAR ของ สมศ เพื่อที่จะต้องเขียนรายงาน ให้ครอบคลุมของเกณฑ์ในการประเมินรายงานการประเมินตนเอง ของ สมศ อีกด้วย

ซึ่ง ตัวชี้วัดการประเมิน SAR ที่ สมศ. กำหนด มาจากระบบคุณภาพ หรือวงจรคุณภาพ P D C A (Plan Do Check Act) เพิ่มอีก 1 A คือ A- Accountability หรือ ตัวชี้วัด มี 5 ตัวชี้วัด

  1. มีการเขียน P-Plan การวางแผน กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานแต่ละมาตรฐานใน SAR
  2. มีการเขียน D-Do ระบุ วิธีการ โครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการใน SAR
  3. มีการเขียน C-Check มีการระบุการกำกับติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผน และการประเมินอย่างเป็นระบบ มีเครื่องมือ วิธีการ ผู้ที่ร่วมประเมินใน SAR
  4. มีการเขียน A-Act มีการระบุการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไข ใน SAR
  5. มีการระบุ แจ้ง A-Accountability คือ รายงานผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และ นำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาต่อ
แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR: Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2564 แนวทางการเขียน SAR 2564

ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมิน SAR การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมิน SAR รายมาตรฐาน โดยตรวจหาคำในรายงานที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด 5 ตัวชี้วัดดังนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน พิจารณา 5 ตัวชี้วัด

  1. มีการระบุเป้าหมายคุณภาพของผู้เรียน
  2. มีการระบุวิธีพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างเป็นระบบตามเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน
  3. มีผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน
  4. มีการนำผลประเมินคุณภาพของผู้เรียนไปพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น
  5. มีการนำเสนอผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานที่ 2 กระบวนบริหารและการจัดการ พิจารณา 5 ตัวชี้วัด

  1. มีการวางแผนการดำเนินการในแต่ละปีการศึกษา
  2. มีการนำแผนการดำเนินการไปใช้ดำเนินการ
  3. มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผน
  4. มีการนำผลการประเมินฯ ไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขในปีการศึกษาต่อไป
  5. มีการนำเสนอผลการบริหารจัดการของสถานศึกษาให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ

มาตรฐาน ที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พิจารณา 5 ตัวชี้วัด

  1. ครูมีการวางแผนการสอนครบทุกรายวิชา ทุกชั้นปี
  2. ครูทุกคนมีการนำแผนการสอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
  3. มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
  4. มีการนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียน
  5. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

เกณฑ์ตัดสิน พิจารณาจากมีชื่อหลักฐานหรือข้อมูลปรากฏใน SAR ตามจำนวนตัวชี้วัด

  • มี 0 – 3 ข้อ ระดับคุณภาพปรับปรุง
  • มี 4 ข้อ ระดับคุณภาพ พอใช้
  • มี 5 ข้อ ระดับคุณภาพ ดี

เมื่อ เกณฑ์การประเมินรายงาน SAR การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ประเมิน SAR เป็น รายมาตรฐาน โดยใช้วิธีตรวจหาคำที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด 5 ตัวชี้วัด การเขียนรายงาน SAR ควรดำเนินการให้ครอบคลุม กระบวนการ PDCAA รวมไปถึงการรายงานต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง บุคลากรในสถานศึกษา ผู้ปกครอง หน่วยงานต้นสังกัด และสาธารณชน รับทราบว่าสถานศึกษาได้บริหารจัดการสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมายที่สถานศึกษาได้วางไว้และเป็นไปตามที่มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สถานศึกษากำหนดมากน้อยเพียงใด พร้อมทั้งเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเองของสถานศึกษา ในจุดที่ต้องได้รับการพัฒนา เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของตนเองในอนาคต

กล่าวโดย สรุป การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR เป็นภารกิจตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ที่สถานศึกษาต้องดำเนินการหลังจากจัดการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา เพื่อสะท้อนภาพความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา ภายใต้บริบทของสถานศึกษา โดยสารสนเทศในรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา นั้นเป็นผลของการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา ซึ่ง ครูและบุคลากรทุกคน ในสถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการประเมิน และให้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของตนเอง ซึ่งจะต้องมีการประเมินเป็นระยะ อย่างสม่ำเสมอ และใช้ผลการประเมินระหว่างปี ปรับปรุงการทำงานตลอดเวลา ในการประเมินผลการดำเนินงานแต่ละระยะ ให้บันทึกข้อมูลพร้อมจัดทำและเก็บรวบรวมสารสนเทศ และเอกสารร่องรอยหลักฐานอย่างเป็นระบบไว้ เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป

เมื่อดำเนินการประเมินคุณภาพภายในเรียบร้อยแล้ว สถานศึกษา ต้องจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา เพื่อรายงานผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาให้บุคลากรในสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักเรียนผู้ปกครองและสาธารณชนรับทราบว่าสถานศึกษาได้บริหารจัดการสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ได้บรลุเป้าหมายที่สถานศึกษาได้วางไว้และเป็นไปตามที่มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สถานศึกษากำหนดมากน้อยเพียงใดพร้อมทั้งเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเองของสถานศึกษาในจุดที่ต้องได้รับการพัฒนา เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของตนเองในอนาคต อีกทั้งหน่วยงานต้นสังกัด สามารถใช้ผลการประเมินจากรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาในการตัดสินใจกำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพของสถานศึกษาในสังกัดต่อไป

สามารถศึกษาแนวทางการจัดทำได้ จากคู่มือการจัดทำรายงานผลการประเมินของสถานศึกษา โดย สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดาวน์โหลด คู่มือการจัดทำรายงานผลการประเมินของสถานศึกษา:SAR โดย สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.

ขอบคุณรายละเอียดจาก Facebook งานประกันคุณภาพการศึกษา สพม 42

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่