สพฐ. ออกแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และ การอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563

สพฐ. ออกแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และ การอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 เรื่อง แนวปฏิบัติการนับวลาเรียน การสอนชดเชย และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563

ด้วยข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘(ฉบับที่ ๕) ข้อ ๒(๑) ห้ามการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทเพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่เป็นการดำเนินการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ และ (ฉบับที่๗) ข้อ ๒ การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันกรศึกษา ให้ผู้ราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้วาราชคารจังหวัดมีอำนาจพิจารณาผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเฉพาะที่ดำเนินการในลักษณะของ

– การให้ความช่วยเหลือ การสงเคราะห์ อุปถัมภ์หรืออุปการะเด็กกำพร้าที่ประสบปัญหาครอบครัว เด็กยากไร้หรือเด็กด้อยโอกาส และอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงได้หากปล่อยให้เด็กอาศัยอยู่ในสถานที่พักอาศัยของตนหรือที่อื่นหรือเป็นการใช้อาคารสถานที่ดังกล่าวเพื่อการทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์สาธารณะตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาต แต่ยังคงงดเว้นการใช้อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ หรือการฝึกอบรม ประกอบกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้แจ้งแนวทางการเปิด

– ปิดภาคเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดการเปิดและปิดภาคเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ดังนี้

ภาคเรียนที่หนึ่ง วันเปิดภาคเรียน วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ วันปิดภาคเรียน วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
ภาคเรียนที่สอง วันเปิดภาคเรียน วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ วันปิดภาคเรียน วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๔ 
และกำหนดให้สถานศึกษาจัดให้มีการสอนชดเชยให้ครบตามหลักสูตรของแต่ละระดับ (ดังสิ่งที่ส่งมาด้วย)

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของสถานศึกษาในสังกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอแจ้งแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียนการสอนชดเชย และการอนุมัติการจบการศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาดำเนินการ ดังนี้

๑. การนับเวลาเรียน

การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และต้ชีวัดที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนด สถานศึกษาต้องมีเวลาเพียงพอที่จะพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน จากสถานการณ์ COVID – 19 สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนทางไกลในระบบออนแอร์ หรือออนไลน์ สามารถตรวจสอบเวลาเรียนของนักเรียน และบริหารจัดการเวลาเรียนในแต่ละภาคเรียนและตลอดปีการศึกษา ให้ครบตามโครงสร้างเวลาเรียนที่หลักสูตรกำหนด ดังนี้

๑.๑ ให้เริ่มนับเวลาเรียน ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป และนับรวมเวลาเรียนที่สถานศึกษาบริหารจัดการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อเปิดสอนชเขยให้ครบตามโครงสร้างเวลาเรียน

๑.๒ ก่อนเริ่มเรียนตามตารางสอนทางไกลในแต่ละวัน ครูต้องมีการตรวจสอบความพร้อมของนักเรียน เหมือนกับเช็คชื่อนักเรียน ให้มีการรายงานตัวว่ามีความพร้อมที่จะเรียนในแต่ละวิชา ตามวิธีการของแต่ละโรงเรียน ซึ่งต้องมีการชี้แจงและนัดหมายผู้ปกครองและนักเรียนให้เข้าใจ

๑.๓ การนับจำนวนเวลาเรียนของแต่ละวิชา เช่น

๑.๓.๑ นับจำนวนชั่วโมงที่เรียนจริงตามตารางสอน

๑.๓.๒ กิจกรรมหรืองานใด ๆ ที่มอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติ ถ้าหากจะนับเป็นเวลาเรียนต้องกำหนดในตารางสอน หรือเอกสารอื่นที่ระบุไว้อย่างชัดเจน

๒. การสอนชดเชย

การจัดารเรียนการสอนในระดับปฐมวัย มีเวลาเรียนครบ ๑๘๐ วัน ตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กำหนด ไม่จำเป็นต้องสอนชดเชย สำหรับการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการได้ตามบริบทและความเหมาะสม หรืออาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน ดังต่อไปนี้

๒.๑ การจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียน

๒.๑.๑ เพิ่มจำนวนเวลาเรียนในแต่ละวัน

๒.๑.๒ เพิ่มการเรียนในวันหยุด

๒.๒ การจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์

๒.๒.๑ กำหนดตารางสอนให้ชัดเจน เพื่อนำมานับชั่วโมงการเรียนได้

๒.๒.๒ เลือกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ที่สามารถวัดและประเมินผลได้จริงคำนึงถึงบริบทของนักเรียนที่บ้านและความพร้อมของผู้ปกครอง

๒.๓ การจัดการเรียนการสอนแบบผสม

การจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานหลายซ่องทาง หรือหลากหลายวิธีสอน จะต้อง กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ สอดคล้องกับเวลาในตารางสอน เช่น

๒.๓.๑ มอบหมายให้นักเรียนทำโครงงาน หรือแก้โจทย์ปัญหาที่ท้ทาย แล้วส่งไฟล์งานทางออนไลน์ หรือช่องทางอื่น ๆ ที่สะดวก

๒.๓.๒ การจัดการเรียนการสอน โดยครูกำหนดประเด็นหรือหัวข้อให้นักเรียนไปศึกษาส่งหน้า พร้อมทั้งให้แหล่งข้มูล จากนั้น นัดหมายเวลามาอภิปราย แถลง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอาจจะมาพบกันที่โรงเรียน หรือผ่านออนไลน์ตามช่องทางที่สะดวก นอกจากนี้ สามารถนำการเรียนการสอนในช่วงเวลาของการเตรียมความพร้อม หรือการปรับพื้นฐานการเรียนรู้ของนักรียน ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม- ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ มาใช้เป็นแหล่งข้อมูลได้

๓. การอนุมัติการจบการศึกษาการออกเอกสารหลักฐานการศึกษา

๓.๑ เมื่อสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนครบตามโครงสร้างเวลาเรียน และเกณฑ์การจบ แต่ละระดับ ให้อนุมัติการจบการศึกษา ภายในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๔

๓.๒ กรณีนักเรียนมีผลการเรียนไม่สมบูรณ์ (ติด ๐ ร มส) ให้สถานศึกษาสอนซ่อมเสริมและดำเนินการวัดและประเมินผลให้เสร็จสิ้น และอนุมัติการจบการศึกษา ภายในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓

ทั้งนี้ สถานศึกษาสามารถศึกษาแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางกาศึษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพิ่มเต็ม ได้จากเว็บไซต์ของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ. ออกแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และ การอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563
สพฐ. ออกแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และ การอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 4
สพฐ. ออกแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และ การอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 5
สพฐ. ออกแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และ การอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 6

ขอบคุณที่มา สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่