การจัดการเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน Game-based Learning คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร

การจัดการเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน Game-based Learning คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอ แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม หรือ Game – based Learning เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ นำไปใช้ในชั้นเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ game based learning เป็นเทคนิคการสอนที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการเรียนรู้ ได้เป็นอย่างดี ประกอบไปด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ ขั้นสำรวจความรู้ (Exploring Knowledge) ขั้นอธิบายกิจกรรม (Explanation) ขั้นเล่นเกม (Playing Game) ขั้นเสนอความคิด (Creativity) และ ขั้นอภิปรายหลังการเล่น และสรุปผล (Discussions and conclusions) โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game – based Learning) คือเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการเรียนรู้ อยากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศการที่ท้าทายและสนุกสนาน โดยเกมที่นำมาเป็นสื่อการเรียนรู้นั้นจะมีความเกี่ยวข้องหรือมีการสอดแทรกเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรวมอยู่ด้วย และมีลักษณะเป็นดิจิตอลมีเดีย (Digital Game) เช่น Kahoot, Quizzes, Adobe Flash เป็นต้น และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายจากคอมพิวเตอร์หรือมือถือ นอกจากนี้การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานยังกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ศักยภาพและบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของเกม กระตุ้นให้ผู้เรียนประสานความร่วมมือกับผู้อื่นในกรณีที่ต้องพึ่งพาอาศัยหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค แสวงหาวิธีการจบเกมหรือได้รับรางวัลจากเกมตามเป้าหมายของเกมนั้นๆ ให้ได้

การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game – based Learning) ช่วยให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเกิดความผูกพันในการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนรู้จักบริหารจัดการอารมณ์และการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การบูรณาการและสร้างกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบและการเคารพกฎกติกาหรือผลแพ้ชนะอย่างมีเหตุผล ในขณะเดียวกันผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระสำคัญและได้ฝึกทักษะต่างๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเกม

ลักษณะของ Game คือ เพื่อความบันเทิงสนุกสนาน ไม่ได้เน้นวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้ และในระหว่างการเล่นจะมีผู้แพ้และผู้ชนะ แต่สำหรับ Game-based Learning เป็นไปเพื่อการเรียนรู้ คือเด็กเรียนรู้แล้วได้อะไร แต่อาจจะมีหรือไม่มี ผู้แพ้หรือผู้ชนะก็ได้ (Game – based Learning) จึงเป็นวิธีการสอนของครูที่กำลังเป็นที่นิยม เพราะเป็นส่วนหนึ่งของ Active Learning และนักเรียนต้องมีส่วนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กตื่นตัวและสนุกสนานในการเรียนรู้ ดังนั้น Games-Based Learning (GBL) คือ แนวการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นสื่อ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยผสมผสานความสนุกสนานจากการเล่นเกมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

การจัดการเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน Game-based Learning คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร
ที่มา บทความ – Game-based Learning เรียนกี่ทีก็มีเฮ (starfishlabz.com)

หลักการของ การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน Game based learning มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1) Practice การออกแบบ Game Based Learning นั้นจะต้องแฝงแบบฝึกหัดต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ลองทำ

2) Learning by doing จะต้องเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งการเรียนรู้ด้วยตัวเองจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า

3) Learning from Mistakes ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากความผิดพลาด การเรียนรู้จากความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ยังจะช่วยให้ผู้เรียนจำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

4) Goal-Oriented Learning ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในเกม ว่าจะให้เด็กเรียนรู้สิ่งไหน เพื่อให้ผู้เรียนพยายามที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย

5) Learning Point ต้องแฝงไปด้วยข้อมูลหรือประเด็นหลักๆที่สำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้เรียนสมควรเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนจะได้นำเอาความรู้นั้นไปใช้งานได้จริง

ตัวอย่างของ Game การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ Game based learning เช่น Game Battleship มีลักษณะของเกมคือการนำไปใช้ในการเข้าสู่บทเรียน

โดยให้เด็กทั้งห้องได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีหน้าที่ และทำหน้าที่ของตนเองมีการแข่งขัน มีแพ้มีชนะ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการเล่นจึงจะสามารถเอาชนะได้

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน GBL

ที่มา https://elearningindustry.com/gamification-game-based-learning-two-different-things

ขั้น1 ขั้นสำรวจความรู้ (Exploring Knowledge)

  1. ครูทบทวนการเขียนอัตราส่วนด้วยการเล่นเกมตอบคำถามใน Blooket

ขั้นที่ 2 ขั้นอธิบายกิจกรรม (Explanation)

2.1 บอกชื่อเกมแก่ผู้เรียน โดมิโน่อัตราส่วนที่เท่ากัน

2.2 แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน โดยคละตามระดับความสามารถ เก่ง ปานกลาง และ อ่อน

2.3 แจกโดมิโน่และใบงานให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม

2.4 ให้ผู้เรียนเรียงโดมิโน่ให้ถูกต้อง กลุ่มใดเสร็จก่อนเป็นฝ่ายชนะ

ขั้นที่ 3 ขั้นเล่นเกม (Playing Game)

3.1 จัดสถานที่สำหรับการเล่นเกมให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการเล่น

3.2 ให้ผู้เรียนเล่นเกมและผู้สอนควบคุมกติกาการเล่นให้เป็นไปตามขั้นตอน

เกมที่ 1 เรียงโดมิโน่ให้ถูกต้อง

เกมที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามให้ถูกต้องโดยดูโจทย์จากงานนำเสนอของครูแล้วเขียนคำตอบลงบนกระดาน ให้สมาชิกทั้งกลุ่มยืนขึ้นและชูกระดานเมื่อเขียนเสร็จ

ผู้สอนควรสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด และควรบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ เพื่อนำไปใช้อภิปรายหลังการเล่น หรือมอบหมายให้ผู้เรียนบางคนทำหน้าที่ สังเกต การเล่น บันทึกพฤติกรรมและควบคุมเวลาเล่น

ขั้น 4 ขั้นเสนอความคิด (Creativity)

ผู้สอนสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเสนอความคิด หรือสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ในการเล่น เช่น การ สร้างกติกาใหม่ที่สนุกและท้าทายมากยิ่งขึ้น การสร้างสรรค์ต่อยอดจนเกิดเกม หรือกิจกรรมใหม่ๆ เป็นต้น

ขั้น 5 ขั้นอภิปรายหลังการเล่น และสรุปผล (Discussions and conclusions)

5.1 ผู้สอนตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย เช่น ผู้ชนะมีวิธีการเล่นอย่างไร ผู้ชนะหรือผู้ แพ้ มีความรู้สึกอย่างไร ผู้ชนะ ชนะเพราะเหตุใด ผู้แพ้ แพ้เพราะเหตุใด

5.2 ประเด็นคำถามเกี่ยวกับเทคนิคหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้รับ เช่น ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ อะไรบ้าง ได้พัฒนามากน้อยเพียงใด ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการหรือไม่ มีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง และมีวิธี ใด จะช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น

5.3 ประเด็นคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่ได้รับ เช่น การทดสอบความรู้ การเขียนแผนผัง ความคิด ร่วมกันสรุป การหาอัตราส่วนที่เท่ากัน

5.4 ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ 4.7

ที่มา (https://inskru.com/idea/-NB5PBhP74ZN6pxUxcj2)

ตัวอย่างเครื่องมือ สื่อการเรียนรู้ game-based learning platform

1.Kahoot เข้าถึงที่ https://kahoot.com/
2.Gametize เข้าถึงที่ https://gametize.com/index
3.Quizlet เข้าถึงที่ https://quizlet.com
4.Gimkit เข้าถึงที่ gimkit.com
5.wordwall เข้าถึงที่ wordwall.net/th

ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยเลือกใช้เกมเป็นฐาน ควรเลือกเกมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ อาจจะมีการย่อยเรื่องที่จะเรียน จะมีส่วนช่วยในการสร้างเกมให้ตอบตัวชี้วัดและจุดประสงคการเรียนรู้ได้ดี ให้เลือกใช้เกมที่สนุก เด็กได้เรียนรู้ และมีสถานการณ์ต่างๆให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

เกม How does it taste? เป็นเกมที่นักเรียนสามารถสนทนาถามตอบได้ โดยการใช้ประโยคต่างๆในสถานการณ์ต่างๆตามที่โจทย์กำหนด ต้องกระตุ้นและสร้างบรรยากาศในเกมให้เด็กได้เรียนรู้ได้มากที่สุด

เกม Direction –Listening เป็นเกมที่ให้ความสำคัญในเรื่องของทักษะการฟัง นับว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่ง เป็นทักษะที่ใช้กันมาก และเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะทักษะการฟังเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ลักษณะของเกมนี้คือการสื่อสารโดยการบอกทิศทางต่างๆในชีวิตประจำวันที่เด็กต้องสามารถฟังและพูดในประโยคต่างๆได้อย่างถูกต้อง

และมีเกมอีกหลายเกมที่ ส่งผลการรู้ที่ดีขึ้น เจตคติ และ พฤติกรรม ด้านบวกที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของผู้เรียน นอกจากนี้การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนแสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนไม่ได้สนใจเพียงแค่การเล่นเกม แต่ยังมีความสนใจในการเรียนผ่านการทำแบบทดสอบภาษาอังกฤษภายในเกมด้วย เช่น เกม As Fast As You can หรือเกม SURVIVAL GAME หรือ The Point Board เป็นบอร์ดสะสมคะแนน ช่วยแสดงความก้าวหน้าของกลุ่ม จนเกิดความต้องการในการพัฒนาตนเอง ส่งผลต่อการพัฒนาแก้ไขความผิดพลาดของกลุ่ม และเกม Funny Jeopardy เป็นเกมการถามตอบในขั้นสรุปในการแบ่งหมวดคำถามระดับคะแนนของแต่ละกลุ่มของนักเรียน เป็นต้น

ขั้นตอนสำคัญของ Game-based Learning คือการอภิปรายผล

เพื่อให้ทราบว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้ที่เกิดจากการเล่นเกม
ใช้คำถามเพิ่มทักษะการคิดคำถามปลายเปิดเช่น นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับเกมนี้บ้าง?
สิ่งที่ควรระวังในการเล่น Game-based Learning คือ ไม่สามารถควบคุมทิศทางการเรียนรู้ได้ ตั้งคำถามเพื่อถอดบทเรียนไม่ได้ และที่สำคัญเล่นแล้วเด็กไม่เกิดความรู้ใหม่ เด็กเล่นแล้วได้แค่ความสนุกสนานจนไม่สามารถเกิดการเรียนรู้ได้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่