ดาวน์โหลดไฟล์ คู่มือในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และรายงานกลับ การดำเนินโครงการอาหารกลางวันนักเรียน 2567 โดยสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต ป.ป.ช
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔ ได้มีมติเห็นชอบแนวทางในการเฝ้าระวังและติดตามสภาวการณ์การทุจริต กรณีโครงการอาหารกลางวันนักเรียนและแบบรายงานผลการตรวจเยี่ยม “โครงการอาหารกลางวันนักเรียน” เพื่อให้เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตนำแนวทางในการเฝ้าระวังและติดตามสภาวการณ์การทุจริต กรณีโครงการอาหารกลางวันนักเรียนไปใช้ในระดับพื้นที่ โดยเน้นให้สำนักงานป ป.ป.ช. ประจำจังหวัด เป็นหน่วยงานหลักในการลงเฝ้าระวังการทุจริตและให้จัดสรุปรายงานกลับมายังสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องทราบผลการดำเนินการต่อไป
สำนักงาน ป.ป.ช. มีบทบาทภารกิจโดยตรงในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.. ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการทุจริตเป็นอย่างมาก และใช้นโยบาย “ป้องนำปราบ” ในการปฏิบัติงาน กล่าวคือ หากประเทศชาติ มีกลไกและขับเคลื่อนงานป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมสามารถป้องปรามการกระทำทุจริตคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้จำนวนสถิติคดีเรื่องกล่าวหาร้องเรียนลดน้อยลงตามลำดับ และเป็นการขับเคลื่อนนโยบายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ประเด็น (๒๑) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) และยกระดับค่าคะแนนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) อย่างแท้จริง ดังนั้น นโยบายในการปฏิบัติงานเชิงรุกของสำนักงาน ป.ป.ช. ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจึงเป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ การจัดตั้งศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center: CDC) เพื่อมุ่งเน้นการทำงานในเชิงป้องปรามการทุจริต การจัดทำแนวทางและคู่มือในการเฝ้าระวังการทุจริตประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานป้องกันกรทุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการอาหารกลางวันนักเรียนในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๔ -๒๕๖๕ พบข้อสังเกตกี่ยวกับการดำเนินโครงการอาหารกลางวันนักเรียนหลายประการ อาทิ
๑. อาหารกลางวันนักเรียนมีคุณภาพหรือปริมาณไม่เหมาะสม
๒. มีครูร่วมรับประทานอาหารกลางวันนักเรียนโดยการจ่ายเงินสมทบ
๓. โรงเรียนไม่มีการประกาศรายการอาหารกลางวันให้นักเรียนหรือผู้ปกครองทราบ
๔. โรงเรียนขาดการกำหนดรายการอาหารกลางวันล่วงหน้าตามหลักโภชนาการที่ดี
๕. โรงเรียนมีการนำงบประมาณโครงการอาหารกลางวันนักเรียนไปดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ
๖. โรงเรียนไม่มีการรายงานผลการดำเนินงานและส่งคืนเงินเหลือจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่โครงการแล้วเสร็จ
๗. เอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือยังไม่เป็นปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. มีนโยบายให้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ดำเนินการเฝ้าระวังการทุจริตโครงการอาหารกลางวันอย่างต่อเนื่อง แต่ให้ปรับรูปแบบการเฝ้าระวังการทุจริตโดยให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษา หรือหน่วยงานต้น
ดาวน์โหลด คู่มืออาหารกลางวัน 16 พฤษภาคม 2567 (เผยแพร่หน่วยงานภายนอก).pdf – Google ไดรฟ์
ดาวน์โหลด แนวทางการบูรณาการ (สิ่งที่ส่งมาด้วย).pdf – Google ไดรฟ์