แจกไฟล์ การพัฒนาการคิดโดยใช้กระบวนการ GPAS โดย สพฐ.

แจกไฟล์ การพัฒนาการคิดโดยใช้กระบวนการ GPAS โดย สพฐ.

แจกไฟล์ การพัฒนาการคิดโดยใช้กระบวนการ GPAS โดย สพฐ. 5

การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทางของ GPAS

เมื่อเราต้องการพัฒนาการคิดจึงต้องออกแบบการเรียนรู้และควรเริ่มต้นจากการมีภาพผลงานที่ชัดเจน คังนั้นหลักสูตรจึงต้องกำหนดภาพปลายทางค้านคุณภาพออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่ผลผลิตของระบบการศึกษาก็คือคุณภาพผู้เรียน นอกจากนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวกวามรู้ ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมาด้วย คำอธิบาข เรียงความ การแสดง หรือขึ้นงานที่ผลิตออกมาเป็นตัวฉายความรู้ จึงจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือแสดงระดับคุณภาพ ความรู้ที่นักเรียนแสดงออกย่อมเป็นผลมาจากการคิดแบบต่าง ๆ หรือกระบวนการคิดแบบต่าง ๆ การลงมือปฏิบัติงานมาแล้ว และการมีค่านิยม จริยธรรม คุณธรรมในใจ ผลรวมของคุณธรรมเหล่านี้จะแสดงออกอย่างชัดเจนในผลงานของชิ้นงานที่นักเรียนเป็นผู้ผลิตเอง 3.m และคณะ
นำเสนอคุณภาพภายในบุคคลไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการประเมิน โดยแบ่งคุณภาพออกเป็น 3 ด้าน เรียกว่า พุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย

ในการพัฒนาผู้เรียน ครูจะต้องรู้ว่า เมื่อผู้เรียนมีคุณภาพดังกล่าวแล้ว จะแสดงออกมาภายนอกอย่างไร ครูจะต้องมองเห็นเหตุและผลสัมพันธ์ของการคิดกับความรู้ การทำกับความรู้ และการมีค่านิยมกับความรู้ ดังนั้นครูจึงต้องฝึกฝนในการมองการแสดงออก กลับไปเป็นคุณภาพกายในให้สัมพันธ์กัน หรือในเวลาสอนต้องมองเห็นว่ากิจกรรมนี้ทำให้เกิดการคิดแบบใด จะเป็นผลออกมาเป็นความรู้แบบใค ความเป็นหนึ่งเดียวกันของการแสดงออก การคิด การทำ การมีค่านิยม ต้องมารวมกันเป็นชิ้นงานหรือผลงานปลายทางองค์ประกอบ 3 ส่วนของหลักสูตร คือ เป้าหมาย กิจกรรม และการประเมิน ต้องถูกนำมารวมกันให้เป็นหนึ่งเดียว การนำหลักสูตรไปปฏิบัติจริง จึงจะบรรลุผลจริง อันเป็นการปฏิรูปได้สำเร็จจริง

แจกไฟล์ การพัฒนาการคิดโดยใช้กระบวนการ GPAS โดย สพฐ. 6
แจกไฟล์ การพัฒนาการคิดโดยใช้กระบวนการ GPAS โดย สพฐ. 7
แจกไฟล์ การพัฒนาการคิดโดยใช้กระบวนการ GPAS โดย สพฐ. 8

จากตารางคำอธิบายนี้ ครูสามารถนำไปใช้ออกแบบการเรียนรู้ โดยกำหนคว่าระดับความรู้ที่ต้องการอยู่ในระดับใด ในเรื่องที่จะสอน เนื้อหาที่จะสอน แล้วเลือกกระบวนการที่เหมาะสม ให้นำไปสู่ความรู้นั้น ได้จริง เมื่อสอนจบแล้ว ก็มาประเมินดูว่า ภาพที่ปรากฏนั้นมีจริงหรือไม่ อยู่ในระดับใด โดยดูจากสาระของคำอธิบาย แผนภาพ ภาพความคิดต่าง ๆ ของผู้เรียน ท่าทางในการแสดงออก และชิ้นงานที่เป็นผลผลิตปลายทาง ด้วยวิธีเหล่านี้ จึงจะนำไปสู่ผลความรู้คุณภาพได้จริงอันเป็นศาสตร์แห่งการสอน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อลงมือสอนจริงก็ต้องนำไปปรับเพิ่มลด ตามเงื่อนไปของบรรยากาศ และสภาพของผู้เรียน เพื่อให้ได้ผลอย่างเดียวกัน อันเป็นศิลปะแห่งการสอน

ความรู้ระดับสูงสุด คือ ระดับพัฒนาตนเองเป็น หรือที่เรียกว่าเรียนรู้ได้เอง และเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งเป็นประ โยชน์ต่อการนำไปใช้สร้างองค์กร ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำงานแบบใช้และสร้งความรู้เพิ่มพูนพัฒนาอยู่เสมอต่อเนื่อง เป็นความรู้ที่พึงปรารถนาที่สุด แต่การพัฒนาก็จำเป็นต้องผ่านขั้นตอน วิธีกิด และกระบวนการคิดต่าง ๆ มาแล้ว ความรู้ระดับนี้จะเกิดได้เมื่อผู้เรียนรู้จักประเมิน ทบทวนหรือวิมังสาอยู่เสมอ ถ้าครูประสงค์จะเพิ่มพูนความสามารถด้านนี้ ครูสามารถจัดกิจกรรมได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ระยะเริ่มต้นของบทเรียน

ครูเสนอวิธีคิด กระบวนการคิดเป็นตัวอย่าง
อธิบายคำศัพท์คำใหม่ที่เกี่ยวกับการคิด เนื้อหา

แสดงให้เห็นว่า จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง

คิดได้ดีแล้วจะเกิดผลอย่างไร

นำเสนอรูปแบบการคิดให้เป็นรูปภาพ แผนภาพ

ในระหว่างการทำกิจกรรมการเรียน

ให้นักเรียนอธิบายเสนอว่าคิดอย่างไร ทำอย่างไรจะนำสู่ผลได้จริงหรือไม่ จะต้องปรับปรุงตรงไหนทำไมจึงคิด จึงทำ จึงเลือกแบบนี้

การเรียน การทำนี้มีความหมายอย่างไร

เมื่อจบการเรียนแล้วให้นักเรียนทบทวนตรวจสอบว่า

ขั้นตอนการคิดเป็นอย่างไร ทำอย่างไร ได้ผลอะไร
มีคุณภาพระดับใด ได้เรียนรู้อะไร
ความร่วมมือกับคนอื่น ๆ เป็นอย่างไร
จะเชื่อมโยงกันอย่างไร ไปสู่สิ่งใด นำไปใช้ต่ออย่างไร เรียนต่ออย่างไร

รูปแบบการเรียนรู้ การคิด กระบวนการคิด และภาพความรู้ที่ปรากฏที่เสนอมานี้ เป็นแนวทางหลักในการเพิ่มพูนความรู้ เพื่อให้ครูและผู้ที่กี่ยวข้องมองเห็นว่า คิดแล้วจึงจะเกิดเป็นความรู้ ความรู้ระดับคิดได้คิดเป็น และเมื่อลงมือทำผลิตผลงานได้ก็จะเกิดความรู้ ระดับทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และมีค่านิยมจริยธรรมในลำดับที่สูงขึ้น จนกระทั่งสุดท้าย คิดได้เองทำได้เอง พัฒนาได้เองอย่างมีคุณธรรม ถ้าครูมุ่งที่จะพัฒนาผู้เรียนให้สมบูรณ์ให้พัฒนาตนเองเป็นอย่างต่อเนื่อง สามารถนำข้อเสนอเหล่านี้ไปลองปฏิบัติดู เมื่อปฏิบัติได้จริงก็เป็นกวามรู้ของผู้ปฏิบัติเอง ถ้าไม่ปฏิบัติก็เป็นความรู้แบบพูดได้ กิดได้ แต่ลงมือทำไม่เป็น และถ้าทำแล้วนำ ไปช่วยเหลือเกื้อกูลต่อครูคนอื่น ๆ ก็จะก้าวไปสู่ระดับมีค่านิยมคุณธรรม จนเกิดผลต่อผู้เรียน ผู้เรียนมีคุณภาพจริง สังคมเป็นสุข เป็นหนึ่งเดียวกัน พัฒนาดีขึ้นไปพร้อม 1 กัน ก็จะได้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ เก่ง ดี มีสุขอย่างแท้จริง ถ้ผู้เรียนมีคุณภาพลังกล่าวแล้วนี้มาก ๆ จึงจะเรียกได้ว่า ปฏิรูปการศึกษาสำเร็จแล้ว หากคุณภาพหล่านี้ยังไปไม่ถึง มีความรู้เพียงระคับข้อมูล สารสนเทศ ราก็คงอ้างไม่ได้ว่า ปฏิรูปการศึกษาสำเร็จจริง.

ที่มา :ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์ จากบทความ ผลการเรียนรู้แบบมีคุณค่า

ขอบคุณไฟล์ :: เว็บไซต์ ครูไม้เอกเสกความรู้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่