ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568

ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์ obecqa 2565-2568 สามารถดาวน์โหลดไฟล์ในลิงก์ด้านล่าง

ในการพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาระบบการจัดการศึกษา ของประเทศให้ทันสมัย มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของสังคมและเป็นสากล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ ขับเคลื่อนโรงเรียนมาตรฐานสากล มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานระดับสากล โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลจึงเป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำมาใช้เป็นมาตรการในการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีองค์ประกอบสำคัญสองประการ ได้แก่ การบริหารด้วยระบบคุณภาพและการจัดการเรียนสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21

เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายสำคัญ “คุณภาพการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ”สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ใช้แนวทางเกณฑ์ รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้ นฐาน OBECQA ปี 2559-2560 ซึ่งประยุกต์ให้มีความสอดคล้องตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TOA)มาตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้ เพื่อให้เกณฑ์ดังกล่าวมีความถูกต้องและมีความทันสมัย จึงได้มีการปรับปรุงเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งได้จัดทำเป็นเอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 ซึ่งพัฒนาเชื่อมต่อมาจากเกณฑ์ OBECQA ปี 2559-2560 และมีการอ้างอิง
เกณฑ์ TOA ปี 2563-2564 และ ปี 2565-2566 ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหลัก ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนนำแนวทางของเกณฑ์ไปประยุกต์ใช้ โดยเทียบเคียงให้เหมาะสมกับบริบทการบริหารจัดการของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือเป็นนโยบายสำคัญในการให้โรงเรียนในสังกัดนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ของปี 2565 – 2568 ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลไปใช้ขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษาให้โรงเรียนมีคุณภาพเทียบเคียง มาตรฐานระดับสากลและมีสมรรถนะในการแข่งขันสู่เวทีโลก โดยให้ใช้แนวทางเกณฑ์ฉบับนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ครู และนักวิชาการศึกษาที่ร่วมกันดำเนินการทำให้เอกสารฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐ าน OBECQA ปี 2565 – 2568 ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการที่เป็นเลิศสืบไป

ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568
ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการกรศึกษาขั้นพื้นฐานปี 2565 – 2568

เกณฑ์เพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) มีการพัฒนาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ซึ่งสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติให้การยอมรับ เกณฑ์มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการบริหารจัดการภายในโรงเรียนของตนเอง ให้เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและมุ่งสู่การปรับปรุงพัฒนากระบวนการดำเนินงานให้มีมาตรฐานทัดเทียมระดับสากล โรงเรียนจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และแนวทา งการขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศ โดยการนำของผู้บริหารและได้รับการตอบสนองการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะครูและบุคลากรของโรงเรียน รวมทั้งพันธมิตรและผู้ส่งมอบ โดยมีคณะทำงานที่มีศักยภาพ มีความคล่องตัวดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ โรงเรียนต้องมีความคาดหวังถึงประโยชน์และการพัฒนาที่สำคัญจากการใช้เกณฑ์ รวมถึงผลลัธ์ของการบริหารจัดการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และนำข้อเสนอแนะจากการประเมินมาเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนโรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการยอมรับว่าเป็นโรงเรียนตันแบบระดับประเทศ โรงเรียนเหล่านี้จะมีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้โรงเรียนอื่น ๆ ในการปรับปรุงการปฏิบัติการและปรับปรุงผลลัพธ์การดำเนินการของตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย

เกณฑ์มีเจตจำนงที่เรียบง่าย

เจตจำนงของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการช่วยโรงเรียน ไม่ว่าขนาดใดหรืออยู่ในสังกัดใด ตอบคำถามที่ท้าทาย 3 ข้อ ดังนี้

1) โรงเรียนดำเนินการได้ดีเท่าที่ควรเป็นหรือไม่

2) โรงเรียนรู้ได้อย่างไร

3) โรงเรียนควรปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ด้วยวิธีการอย่างไร

จากการท้าทายตนเองด้วยการตอบคำถามของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ โรงเรียนจะได้สำรวจตนเองว่าได้สำเร็จในสิ่งที่สำคัญต่อโรงเรียนแล้วหรือไม่ คำถามของเกณฑ์ครอบคลุม 7 ด้านที่สำคัญ ในการจัดการและการดำเนินการของโรงเรียน (แบ่งย่อยออกป็นกระบวนการ 6 หมวด และผลลัพธ์ 1 หมวด) ได้แก่

  1. การนำองค์กร
    ผู้นำองค์กรถ่ายทอดวิสัยทัศน์และนำองค์กรอย่างไร และทำให้มั่นใจถึงการกำกับดูแลองค์กรที่ดีอย่างไร
  2. กลยุทธ์
    โรงเรียนเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตอย่างไร
  3. นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    โรงเรียนรับฟังนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความพึงพอใจและสร้างความผูกพันอย่างไร
  4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
    โรงเรียนใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้ เพื่อการตัดสินใจอย่างไร
  5. บุคลากร
    โรงเรียนสร้างความผูกพันและเอื้ออำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) ของบุคลากร
    อย่างไร
  6. การปฏิบัติการ
    โรงเรียนมั่นใจได้อย่างไรว่า การปฏิบัติการสามารถตอบสนองความต้องการ และสร้างความ
    พึงพอใจแก่นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  7. ผลลัพธ์
    โรงเรียนดำเนินการได้ดีเพียงใด

เกณฑ์ส่งเสริมให้เกิดมุมมองเชิงระบบ

มุมมองเชิงระบบ หมายถึง การบริหารจัดการองค์ประกอบทั้งหมดของโรงเรียนให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้เกิดความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยโครงสร้างและกลไกการบูรณาการเชิงระบบ ได้แก่ ค่านิยมและแนวคิดหลัก เกณฑ์ 7 หมวด ที่มีการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกันและแนวทางการให้คะแนน

ลักษณะที่สำคัญของเกณฑ์

การมุ่งเน้นที่ค่านิยมและแนวคิดหลักเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีพื้นฐานมาจาก”ค่านิยมและแนวคิดหลัก 11 ประการ” ได้แก่

1. มุมมองเชิงระบบ (Systems perspective)

2. การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ (Visionary leadership)

3. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Customer – focused excellence)

4. การให้ความสำคัญกับบุคลากร (Valuing people)

5. ความคล่องตัวและความสามารถในการฟื้นตัว (Agility and resilience)

การเรียนรู้ระดับองค์กร (Organizational learning)

7. การมุ่งเน้นความสำเร็จและการจัดการเพื่อนวัตกรรม (Focus on success and innovation)

8. การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง (Management by fact)

9. การตอบแทนสังคม (Societal contributions)

10. จริยธรรมและความโปร่งใส (Ethics and transparency)

11. การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์ (Delivering value and results)

ค่านิยมและแนวคิดหลักดังกล่าวเป็นรากฐานสำหรับการบูรณาการผลการดำเนินการที่สำคัญและข้อกำหนดการปฏิบัติการภายใต้กรอบที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ ซึ่งจะสร้างพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติข้อมูลป้อนกลับ และความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

การมุ่งเน้นกระบวนการ

กระบวนการ หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่โรงเรียนใช้เพื่อทำให้งานสำเร็จ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วยให้โรงเรียนตรวจประเมินและปรับปรุงกระบวนการ ตาม 4 มิติ ดังนี้

1. แนวทาง (Approach) หมายถึง โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการทำให้งานของโรงเรียนประสบความสำเร็จ ความเป็นระบบและประสิทธิผลของแนวทางที่สำคัญของโรงเรียนเป็นอย่างไร

2. การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (Deployment) หมายถึง โรงเรียนนำแนวทางที่สำคัญไปใช้อย่างคงเส้นคงวาในส่วนงานที่เกี่ยวข้องอย่างไรแนวทางกำหนดไว้อย่างไรการปฏิบัติต้องเป็นไปตามนั้น

3. การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง โรงเรียนประเมินและปรับปรุงแนวทางที่สำคัญของโรงเรียนได้ดีอย่างไร การปรับปรุงต่าง ๆ มีการแบ่งปันภายในองค์กรได้ดีเพียงไร องค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมหรือไม่

4. การบูรณาการ (Integration) หมายถึง แนวทางต่าง ๆ ของโรงเรียนสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างไร

การมุ่งเน้นผลลัพธ์

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชี้นำให้โรงเรียนประเมินผลลัพธ์จาก 3 มุมมอง

มุมมองภายนอก : นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น มองโรงเรียนอย่างไร
มุมมองภายใน : การปฏิบัติการของโรงเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร
มุมมองอนาคต : โรงเรียนมีการเรียนรู้และเติบโตหรือไม่

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้แสดงผลลัพธ์ที่ครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญของโรงเรียน เนื่องจาก องค์ประกอบของตัววัดเป็นสิ่งที่ทำให้มั่นใจว่ากลยุทธ์

ของโรงเรียนมีความสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญกับวัตถุประสงค์ ต่าง ๆ ตลอดจนเป้าประสงค์
ระยะสั้นและระยะยาว เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วยให้โรงเรียน
ประเมินผลลัพธ์ตาม 4 มิติ ดังนี้

  1. ระดับ (Level) หมายถึง ระดับผลการดำเนินการปัจจุบันตามตัววัดที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
  2. แนวโน้ม (Trend) หมายถึง ผลลัพธ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เช่น ดีขึ้นหรือเหมือนเดิมหรือต่ำลงกว่าเดิม
  3. การเปรียบเทียบ (Comparison) หมายถึง ผลการดำเนินการของโรงเรียนเมื่อเทียบกับโรงเรียนอื่นที่เหมาะสมเป็นอย่างไร เช่น
    เทียบกับคู่แข่ง หรือระดับเทียบเคียง หรือผู้นำทางการศึกษา
  4. การบูรณาการ (Integration) หมายถึง โรงเรียนติดตามดูผลลัพธ์ที่สำคัญของโรงเรียนหรือไม่ โรงเรียนใช้ผลลัพธ์นั้นในการ
    ตัดสินใจหรือไม่

การมุ่งเน้นการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกัน

การปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างเกณฑ์หมวดต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของมุมมองเชิงระบบในเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกันเช่น

1) การปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างแนวทางของโรงเรียนในหมวด 1 – 6 และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ในหมวด 7
2) ความจำเป็นของข้อมูลในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์และการปรับปรุงการปฏิบัติการ
3) การปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างการวางแผนบุคลากรกับการวางแผนกลยุทธ์
4) ความจำเป็นของความรู้เกี่ยวกับนักเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการของชุมชนและสังคมในการสร้างกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
5) การปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างแผนปฏิบัติการและการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในระบบงานของโรงเรียน

การมุ่งเน้นการปรับปรุง

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วยให้โรงเรียนเข้าใจและตรวจประเมินโรงเรียนว่าประสบผลสำเร็จในสิ่งที่สำคัญต่อโรงเรียนในระดับใด โรงเรียนมีการถ่ายทอดกระบวนการไปสู่การปฏิบัติในระดับพัฒนาการใด ผลลัพธ์ของโรงเรียนดีในระดับใด โรงเรียนได้เรียนรู้และปรับปรุงหรือไม่ และแนวทางของโรงเรียนตอบสนองความจำเป็นของโรงเรียนได้ดีในระดับใด แนวทางการให้คะแนน (หน้า 136 แสดงให้เห็นถึงมิติของกระบวนการและผลลัพธ์ที่อธิบายข้างต้นอย่างไร

ในขณะที่โรงเรียนตอบคำถามตามเกณฑ์ และประเมินผลการตอบของตนเองกับแนวทางการให้คะแนน โรงเรียนจะสามารถระบุจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง ทั้งภายในเกณฑ์แต่ละหมวดและระหว่างหมวด เมื่อโรงเรียนใช้เกณฑ์ร้างวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อบริหารจัดการผลการดำเนินการของโรงเรียน จะเกิดการทำงานประสานกันระหว่างกระบวนการที่สำคัญและข้อมูลป้อนกลับระหว่างกระบวนการกับผลลัพธ์ ซึ่งจะนำไปสู่วงจรการปรับปรุง และเมื่อโรงเรียนใช้เกณฑ์นี้อย่างต่อเนื่อง โรงเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น และจะสามารถระบุวิธีที่ดีที่สุดในการเสริมสร้างจุดแข็ง ปิดช่องว่างและสร้างนวัตกรรม

แนวทางการให้คะแนนกระบวนการ หมวด 1 – 6

ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568
ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568

แนวทางการให้คะแนนผลลัพธ์ หมวด 7

ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568
ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568

กระบวนการและกรอบเวลา การตรวจประเมินและอนุมัติรางวัล ScQA / OBECQA

ดาวน์โหลดไฟล์ เอกสารเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565-2568 เกณฑ์รางวัล ScQA และOBECQA ปี 2565-2568 7

ลิงก์สำรอง

ขอบคุณที่มา :: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (obec.go.th) | Facebook ครูสายบัว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่